วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

มลภาวะทางดิน (Soil pollution)

มลภาวะทางดิน

ภาวะมลพิษทางดิน (Soil Pollution) มีสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
1. การกำจัดสารพิษด้วยการฝังดิน ตลอดจนการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ โดยการทิ้งบนดิน เป็นสาเหตุให้ดินมีสภาพไม่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก
2. ปุ๋ยเคมีและสารเคมีที่ใช้ปราบศัตรูพืช    การทำไร่ฝ้าย ต้องใช้ทั้งปุ๋ยและยาฆ่าแมลง
3. เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ยางรถยนต์ พลาสติก บรรจุภัณฑ์ ซึ่งสลายตัวยาก มีความทนทานต่อน้ำ แสงแดด และอากาศ จึงตกค้างอยู่ในดินและน้ำ

การกำจัดพลาสติก
                นักวิทยาศาสตร์ได้มีการคิดค้นวิธีกำจัดพลาสติกที่ใช้แล้ว และค้นคว้าเพื่อสังเคราะห์พลาสติกชนิดใหม่ ๆ ที่สามารถใช้งานได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นจะสลายตัวไป หรือสังเคราะห์พลาสติกที่จุลินทรีย์สามารถย่อยสลายได้  ปัจจุบันมีวิธีกำจัดพลาสติกได้หลายวิธีดังนี้
ปัญหามลพิษที่เกิดจากขยะ

ก) ใช้ปฏิกิริยาชีวเคมี
          สังเคราะห์พลาสติกที่มีโครงสร้างทางเคมีที่สามารถถูกทำลายได้ด้วยเอนไซม์ของจุลินทรีย์พวกแบคทีเรียหรือเชื้อรา  เช่น  เซลลูโลสซานเทต และเซลลูโลสแอซีเตต หรือการผสมแป้งข้าวโพดในพอลิเอทิลีน แล้วนำมาผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์
ข) ใช้สมบัติการละลายในน้ำ
          พลาสติกบางชนิด เช่น พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ สามารถละลายในน้ำได้ เมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีความชื้นสูง หรืออยู่ในน้ำ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น พลาสติกจะละลายได้เพิ่มขึ้น
ค) ใช้แสงแดด
                นักเคมีชาวแคนาดาพบว่าการเติมหมู่ฟังก์ชันที่ไวต่อแสงอัลตราไวโอเลตเข้าไปในโซ่พอลิเมอร์ เมื่อพลาสติกถูกแสงแดดจะเกิดสารที่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ทำให้พลาสติกเสื่อมคุณสมบัติ เปราะ แตก และหักง่าย
ง) ใช้ความร้อน
                พลาสติกที่เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน เมื่อได้รับความร้อนถึงระดับหนึ่งจะสลายตัวเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก ในที่สุดจะได้คาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำ หรือสารอื่นซึ่งเป็นพิษปนออกมาด้วย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของพลาสติก เช่น พอลิเอทิลีนติดไฟง่าย พอลิสไตรีนเผาไหม้ให้ควันดำและเขม่ามาก พอลิไวนิลคลอไรด์ติดไฟยาก ต้องให้ความร้อนตลอดเวลา และเกิดแก๊ส HCl  ซึ่งเป็นแก๊สพิษเกิดขึ้นด้วยการกำจัดพลาสติกโดยการเผา
จ) นำกลับมาใช้ใหม่
          พลาสติกประเภทเทอร์มอพลาสติกสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น